วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

ลักษณะสำคัญของ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

  • เป็นกฎหมายบัญญัติความผิดเฉพาะของฝ่ายทหาร
  • เป็นกฎหมายที่บังคับต่อพลเรือน
  • เป็นกฎหมายบัญญัติความผิดคาบเกี่ยวกันระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือน
  • เป็นกฎหมายที่เพิ่มโทษแก่ทหารที่กระทำความผิดอาญา ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ราชการ

เหตุผลที่ทหารต้องตกอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

  • เพื่อประโยชน์ในการบังคับบัญชา
  • เพื่อควบคุมทหารให้อยู่ในวินัยทหารอย่างเคร่งครัด

กฎหมายอาญาทหาร

ประมวลกฎหมายอาญาทหารคืออะไร

กฎหมายอาญาทหารที่ใช้ในปัจจุบันนี้ คือ ประมาลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเมื่อรัตนโกสินทรศก 130(พ.ศ.2454) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน นัตรโกสินทรศก 131 เป็นต้นมา แต่เดิมประมวลกฎหมายอาญาทหารได้ร่างเป็น2ฉบับ คือ ร่างประมวลกฎหมายอาญาทหารบก ฉบับหนึ่ง และร่างประมวลกฎหมายอาญาทหารเรือ ฉบับหนึ่ง แต่ก่อนที่ร่างกฏหมายทั้งสองฉบับนั้นจะประกาศใช้ ได้พิจารณาเห็นว่าถ้ารวมประมวลกฎหมายอาญาทหารบกและประมวลกฎหมายอาญาทหารเรือเป็นกฎหมายเดียวกันจะเหมาะสมกว่า จึงได้ร่างประมวลกฎหมายอาญาทหารขึ้นใหม่ ใช้บังคับทั้งทหารบกและทหารเรือ และในเวลาต่อมาเมื่อมีทหารอากาศก็ใช้บังคับแก่ทหารอากาศด้วย

เหตุผลที่ต้องบัญญัติประมวลกฎหมายอาญาทหาร

ความจริงกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับแก่พลเมืองทั่วไปรวมทั้งทหารด้วยนั้น ก็มีอยู่แล้วคือประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งได้ประมวลความผิดต่าง ๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ทหารที่กระทำ ความผิดอาญาต่างๆก็สามารถลงโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวกฎหมายอาญาได้ แต่กระนั้นก็ดีก็ยังมีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องตราประมวลกฎหมายอาญาทหารขึ้นใช้ด้วยดังต่อไปนี้

(๑) ประมวลกฎหมายอาญากำหนดลักษณะความผิดเป็นการทั่วไปลงโทษเฉพาะผู้กระทำความผิดสามัญเท่านั้นไม่ได้กำหนดความผิดที่ล่วงละเมิดต่อกฎหมายฝ่ายทหารตลอดจนความผิดต่อหน้าที่ของฝ่ายทหารขึ้นไว้ เช่น ความผิดฐานปลอมตัวเข้าสอดแนมในค่ายทหาร เป็นต้น

(๒) การกระทำความผิดต่อกฎหมายและหน้าที่ฝ่ายทหาร แม้จะเกิดจากความประพฤติของบุคคลที่เป็นทหารเสียเป็นพื้นก็จริง แต่มีบางอย่างที่อาจเกิดความประพฤติของบุคคลสามัญได้(เช่นความผิดฐานกระทำ โดยปราศจากความเมตตาแก่คนที่ถูกอาวุธบาดเจ็บ) สมควรมีกฎหมายบางอย่างให้ใช้ได้ตลอดทั้งบุคคลที่เป็นทหารและบุคคลสามัญ

(๓) ทหารอยู่ภายใต้บังคับแห่งวินัยทหาร เมื่อกระทำความผิดอย่างบุคคลสามัญทั่วไปซึ่งความผิดนั้นย่อมเกิดจากการกระทำ อันเป็นความประพฤติที่ทหารควรละเว้นเจืออยู่ด้วยจึงควรพิจารณากำหนดโทษให้ผู้นั้นได้รับโทษหนักกว่าบุคคลสามัญ

บทนิยาม

ได้มีการนิยามถ้อยคำบางคำ ไว้ในมาตรา ๔ ดังนี้
คำว่า "ทหาร" หมายความว่าบุคคลที่อยู่ในอำ นาจกฎหมายฝ่ายทหาร
คำว่า "เจ้าพนักงาน" ที่ใช้ในประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้น ท่านหมายความรวมตลอดถึงบรรดานายทหารบก นายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวนที่อยู่ในกองประจำ การนั้นด้วย
คำว่า "ราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแข็งต่ออำนาจผู้ใหญ่ หรือที่เป็นขบถ หรือเป็นโจรสลัดหรือที่ก่อการจลาจล
คำว่า "ต่อหน้าราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงที่อยู่ในเขตซึ่งกองทัพได้กระทำ สงครามนั้นด้วย
คำว่า "คำ สั่ง" นั้น ท่านหมายความว่า ที่บรรดาข้อความที่ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหาร ผู้ถืออำ นาจอันสมควร เป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราชกำ หนดกฎหมาย คำ สั่งเช่นว่านี้เมื่อผู้รับคำ สั่งนั้นได้กระทำ ตามแล้ว ก็เป็นอันหมดเขตของการที่สั่งนั้น
คำว่า "ข้อบังคับ" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อบังคับและกฎหมายต่าง ๆ ที่ให้ใช้อยู่เสมอซึ่งผู้บังคับบัญชาทหาร ผู้ถืออำ นาจอันสมควรได้ออกไว้โดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราชกำ หนดกฎหมาย

การกำหนดลักษณะโทษ

ประมวลกฎหมายอาญาทหารได้กำหนดลักษณะโทษที่จะใช้ลงแก่ผู้กระทำความผิด หนักเบาลดหลั่นกันตามลำ ดับ โดยกำหนดไว้รวมเป็น ๔ ลักษณะดังนี้

(๑) หลบหนีไปเข้าอยู่กับพวกราชศัตรู (โทษหนักที่สุด)

(๒) กระทำความผิดต่อหน้าราชศัตรู (โทษหนักรองลงไป)

(๓) มิได้กระทำความผิดต่อหน้าราชศัตรู แต่เป็นเวลาสงคราม หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก(โทษหนักรองลงไปอีก)

(๔) กระทำความผิดในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว (โทษเบาที่สุด)

ความผิดอาญาทหารบางอย่างให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร

ผู้กระทำความผิดอาญาทหาร จะต้องได้รับโทษ ๕ สถาน (ตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้) กล่าวคือ ประหารชีวิต, จำคุก, กักขัง, ปรับ และริบทรัพย์สิน แต่มีการกระทำความผิดบางอย่างที่ยอมให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร ให้ลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารแทนการลงโทษดังกล่าวได้ มีรายละเอียด (ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙)ดังนี้

(๑) การกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร บางมาตรา (มาตรา ๒๑, ๒๓, ๒๔,๒๗, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๙, ๔๑, ๔๒, ๔๓, ๔๔, ๔๖, และ ๔๗) ถ้าผู้บังคับบัญชาพิจารณาว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำ คัญให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และมีอำ นาจสั่งลงทัณฑ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารเว้นแต่ผู้มีอำ นาจแต่งตั้งตุลาการจะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำ ผิดไปดำ เนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำ เนินคดีนั้นในศาลพลเรือนจึงให้เป็นไปตามนั้น

(๒) ความผิดลหุโทษ ได้แก่ความผิดที่บัญญัติไว้ในภาค ๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญาตั้งแต่มาตรา ๓๖๗ ถึงมาตรา ๓๙๘ เป็นความผิดที่ไม่มีความรุนแรง เช่น ส่งเสียงหรือทำ ให้เกิดเสียงอื้ออึงทำ ให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน, หาอาวุธเข้าไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร, ทะเลาะกันในที่สาธารณะ, ยิงปืนโดยใช่เหตุในเมือง ในหมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน, เสพสุราหรือของเมาอย่างอื่นจนเมาและประพฤติวุ่นวาย หรือครองสติไม่อยู่ในถนนสาธารณะหรือสาธารณสถาน เป็นต้น ความผิดลหุโทษดังกล่าวแล้วนั้น มีอัตราโทษอย่างสูงจำ คุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

(๓) ความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่

- ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว

- ความผิดลหุโทษ

- ความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ

- ความผิดต่อกฎหมายแผนกภาษีอากรซึ่งมีอัตราโทษปรับอย่างสูงไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท

ความผิดตามกฎหมายอื่นใด แม้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาทก็ตาม ก็ไม่เรียกความผิดนั้นเป็นความผิดลหุโทษเพราะความผิดลหุโทษเป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญาดังได้กล่าวแล้วเท่านั้น

ลักษณะความผิดต่าง ๆ

ความผิดต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาทหารนั้น สามารถพิจารณาแยกความผิดออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ตามประเภทของบุคคลที่กระทำ ผิดดังนี้คือ

(๑) ความผิดสำหรับบุคคลทั่วไป (ซึ่งรวมความผิดที่ทหารกระทำ อยู่ในตัวด้วย) ได้แก่ความผิดฐาน

- เชลยศึกเสียสัตย์

- ลักลอบสอดแนม

- ปิดบังซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือราชศัตรู หรือผู้ลักลอบสอดแนม

- ยุยงหรือข่มขืนใจผู้บังคับกองทหารให้ยอมแพ้

- ทำให้เรือของทหารชำ รุดหรืออับปางโดยเจตนา

- ทำให้เรือของทหารชำ รุดหรืออับปางโดยประมาท

- สบประมาทธง

- ทำร้ายทหารยาม

- หมิ่นประมาทหรือขู่เข็ญจะทำ ร้ายทหารยาม

- กระทำ การปราศจากความเมตตาแก่ผู้ถูกอาวุธบาดเจ็บใน

(๒) ความผิดสำหรับบุคคลที่เป็นทหาร ได้แก่ความผิดฐาน

- นายทหารยอมแพ้แก่ราชศัตรู

- นายเรือถอยเรือออกจากที่รบโดยไม่มีเหตุผลสมควร

- นายเรือจงใจกระทำหรือปล่อยให้เรือของทหารชำรุดหรืออับปาง

- นายเรือกระทำหรือปล่อยให้เรือของทหารชำรุดหรืออับปางโดยประมาท

- นายเรือละทิ้งเรือเมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น

- นายเรือละทิ้งเรือขณะที่ยังมีคนอยู่ในเรือ

- ทหารทำลายหรือละทิ้งเครื่องสาตราวุธ

- ทหารละทิ้งหน้าที่

- ทหารขัดคำสั่ง

- ทหารขัดคำสั่งอย่างองอาจ

- ทหารขัดขืนหรือละเลยไม่กระทำตามข้อบังคับ

- ทหารขัดขืนไม่กระทำตามข้อบังคับอย่างองอาจ

- ทหารหลับยามหรือเมาสุราในหน้าที่

- ทหารยามไม่เอาใจใส่หรือประมาทในหน้าที่

- ทหารทำร้ายผู้บังคับบัญชา

- ทหารทำร้ายทหารซึ่งเป็นผู้ใหญ่เหนือตน

- ทหารแสดงความอาฆาตหรือหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่เหนือตน

- ทหารกำเริบ

- ทหารหนีราชการ

- ทหารปลอมปนทรัพย์ของทหาร

- ทหารกระทำผิดในขณะเป็นยามมีอาวุธของหลวงติดตัว

(ลักษณะความผิดต่าง ๆ ดังกล่าว จะได้อธิบายองค์ประกอบความผิดบางความผิดต่างหาก)

_____________________________________________________

  1. พล.ท.ประสิทธิ์ ใจชื่น,กฎหมายทหาร military law,(กรุงเทพ:สำรักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง),หน้า1-10
  2. ประมวลกฎหมายอาญาทหาร เรียบเรียงโดย พ.ท.นิติน ออรุ่งโรจน์








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น